ฟักข้าว เคยเป็นพืชที่ขึ้นตามหัวไร่ปลายนา ขึ้นตามชายป่าละเมาะทั่ว ๆ ไปคล้าย ๆ กับเป็นวัชพืชที่เราไม่ได้สนใจ ขึ้นตามที่รก ๆ ต้องถางตัดทิ้ง แต่จากความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ มีการค้นคว้าวิจัยศึกษาผลของฟักข้าว ทำให้ทราบว่าผลฟักข้าวมีสารเคมีที่น่าสนใจมาก ทำให้ผลฟักข้าวมีคุณค่ามีราคามากขึ้น เอ...แล้วฟักข้าวดียังไงนะ หาคำตอบได้จากข้อมูลด้านในเลยจ้า....
ฟักข้าว ชื่อวิทยาศาสตร์คือ โมมอร์ดิกา โคชินเนซิส(Momordica cochinnesis Lour. Spreng )
จัดอยู่ในวงศ์ คิวเคอร์บิตาซีอี (Cucurbitaceae) เป็นพืชวงศ์เดียวกันกับพวกแตงกวา มะระ เป็นเถาเลื้อยพัน มีมือเกาะ (Tendril) มีผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง ผลที่สุกมีสีแดง ที่เปลือกผลมีลักษณะเป็นหนามเล็ก ๆ มีถิ่นกำเนิดในประเทศ จีน พม่า ไทย ลาว บังคลาเทศ มาเลเซียและฟิลลิปินส์
ประโยชน์ทางโภชนาการ
ในประเทศไทย ใช้ผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวเป็นอาหาร รสชาติเนื้อฟักข้าวเหมือนมะละกอ ลวกหรือต้มให้สุกหรือ ต้มกะทิจิ้มน้ำพริกกะปิ หรือใส่แกง ยอดอ่อน ใบอ่อนนำ มาเป็นผักได้ นำมานึ่งหรือลวกให้สุกกินกับน้ำพริกหรือนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค
ประเทศเวียดนาม กินข้าวเหนียวหุงกับเยื่อเมล็ดผลฟักข้าวสุก เนื่องจากชาวเวียดนามถือว่าสีขาวเป็นสีแห่งความตาย ข้าวสีส้มแดงจึงจัดเป็นมงคลต่องานเทศกาลต่าง ๆ ชาวเวียดนามเอาเยื่อสีแดงจากผลฟักข้าวสุกพร้อมเมล็ดมาหุงกับข้าวเหนียว ได้ข้าวสีส้มแดงมีกลิ่นหอม ต้องมีเมล็ดฟักข้าวติดมาในข้าวด้วยจึงว่าเป็นของแท้ ถึงกับมีการหุงข้าวใส่สีผสมอาหารสีแดงเลียนแบบการใช้ฟักข้าวนอกฤดูกาลก็มี เชื่อว่าบำรุงสายตา
ความเชื่อที่ว่าฟักข้าวบำรุงสายตานั้นถูกต้อง แต่ต้องกินส่วนที่มาจากเยื่อเมล็ดไม่ใช่ส่วนอื่น เมื่อใช้เยื่อฟักข้าวเสริมอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนในงานวิจัยในประเทศเวียดนาม พบว่า เด็กในกลุ่มมีปริมาณบีตาแคโรทีนและไลโคพีนในพลาสมาสูงขึ้น และกลุ่มที่มีปริมาณความเข้มข้นของเฮโมโกลบินต่ำมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นด้วย จึงแนะนำให้ผู้มีเลือดจางกินข้าวหุงเยื่อเมล็ดฟักข้าวสุกด้วย ปัจจุบันมีผู้นำเยื่อเมล็ดนี้ผลิตเป็นเครื่องดื่มอาหารเสริมจำหน่ายในต่างประเทศ
ไลโคพีนเป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบได้ในผักและผลไม้บางชนิด ทำหน้าที่เป็นรงควัตถุรวบรวมแสงให้แก่พืช และป้องกันพืชผักจากออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยว (อนุมูลอิสระ) และแสงที่จ้าเกินไป การกินไลโคพีนที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้รับการพิสูจน์จากวงการแพทย์ว่า มีผลลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร เนื่องจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีไลโคพีนมากกว่าผลไม้อื่น ๆ ทุกชนิด จึงถือว่าเป็นอาหารต้านมะเร็งที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งจากฤทธิ์ของไลโคพีน ซึ่งบทความนี้สอดคล้องกับคำกล่าวของรองศาสตราจารย์ สุธาทิพย์ ภมรประวัติ จากภาควิชาเภสัชโภชนาศาสตร์ โครงการบัณฑิตศึกษา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กล่าวว่า ผลฟักข้าวสุกสีแดงมีสารไลโคปีนสูงกว่าผลไม้อย่างอื่น ดังตาราง
ฤทธิ์ในการบำบัดรักษาโรค
ประเทศจีน
ใช้เมล็ดแก่ของฟักข้าวเป็นยามานานกว่า ๑,๒๐๐ ปี ใช้บำบัดอาการอักเสบบวม กลากเกลื้อน ฝี อาการฟกช้ำ ริดสีดวง แก้ท้องเสีย อาการผื่นคันและโรคผิวหนังติดเชื้อต่างๆ ทั้งในมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ การกินฟักข้าวเป็นยานั้น ใช้เมล็ดแก่บดแห้ง ส่วนการใช้ภายนอกให้นำเมล็ดฟักข้าวบดแห้งผสมน้ำมันหรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อยทาบริเวณที่มีอาการและใช้เยื่อเมล็ดแทนสีผสมอาหาร งานวิจัยในประเทศจีน พบว่า โปรตีนจากเมล็ดมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ตับในหลอดทดลอง เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของฤทธิ์ทางชีวภาพของเมล็ดฟักข้าว ถือว่าลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระจึงมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง นอกจากนี้เมล็ดฟักข้าวเป็นส่วนผสมของยาแก้ปวดกล้ามเนื้อและคลายกล้ามเนื้อในเครื่องยาจีนหลายตำรับ
ประเทศเวียดนาม
การวิจัยทางคลินิกที่มหาวิทยาลัยฮานอย พบว่า น้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ
มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลเกี่ยวกับสรรพคุณของเมล็ดฟักข้าว พบโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอวี-เอดส์ และยับยั้งเซลล์มะเร็งจดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว งานวิจัยอื่นของไทยและต่างประเทศพบว่า เมล็ดแก่ของฟักข้าวมีโปรตีนมอร์มอโคลชิน-เอสและโคลชินิน-บี มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไรโบโซมซึ่งเป็นแหล่งผลิตกรดอะมิโน และต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง ซึ่งอาจนำไปใช้พัฒนาเภสัชภัณฑ์ได้ในวันข้างหน้า
ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย
ใช้รากฟักข้าวสระผมเพื่อกำจัดเหา ใช้รากบดหมักผมกระตุ้นให้ผมดก ประเพณีล้านนาของไทยใช้ ฟักข้าวในการดำหัว (คือการสระผม) สตรีล้านนา ดำหัวสัปดาห์ละครั้ง ยาสระผม ประกอบด้วย ฝักส้มป่อยจี่ ผลมะกรูดเผา ผลประคำดีควายหมกไฟพอให้สุก รากของต้นฟักข้าว รากแหย่งบดหยาบ ทั้งหมดผสมกับน้ำอุ่นหมักผมไว้สัก ระยะหนึ่งแล้วจึงล้างออก จะทำให้แก้คันศีรษะ แก้รังแค แก้ผมร่วงและช่วยให้ผมดกดำ
ประเทศญี่ปุ่น
ทำการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูทดลอง โดยลดการแผ่ขยายของหลอดเลือดรอบก้อนมะเร็งและชะลอการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งดังกล่าว ในห้องทดลองน้ำสกัดผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการทำให้เซลล์แตกตาย
ผลอ่อนฟักข้าวกินได้ ผลแก่ก็อุดมคุณค่า ลองหาพันธุ์มาปลูกให้เลื้อยเล่นหน้าบ้านจะได้กินเมื่อใจ ปรารถนา เป็นการสร้างสุขภาพป้องกันโรคร้ายได้อย่างดี
ยังไม่มีเพียงเท่านีี้ ยังมีการต่อยอดงานวิจัยเกี่ยวกับฟักข้าว ซึ่งทำให้ฟักข้าวเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น โดย
รศ.ดร.ภก.สุรพล นธการกิจกุล หัวหน้าทีมวิจัย เผยผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอยจากน้ำมันของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโน (Development of Anti-wrinkle Cosmetic from Aril Oil of Momordica cochinchinesis (Lour.) Spreng in Nanostructured Lipid Carriers) ได้รับรางวัล IFSCC Host Society Award 2011 ซึ่งนับเป็นผลงานของคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ 2011 (IFSCC 2011) ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร
ผลงานวิจัยเรื่องการพัฒนาเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอยจากน้ำมันของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโนนั้นเป็นการต่อยอดงานวิจัยพัฒนาอย่างต่อเนื่องกว่า 5 ปี ของทีมนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพโดย รศ.ดร.ภก. สุรพล กล่าวถึงที่มาของการวิจัยว่า
มีการศึกษาประสิทธิภาพการลดริ้วรอย โดยใช้เครื่องมือ Skin Visiometer พบว่า หลังใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโนวันละ 2 ครั้ง อย่างต่อเนื่องนาน 8 สัปดาห์ พบว่า
-บริเวณที่ใช้ครีมผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโน สามารถลดริ้วรอยของผิวหนังได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนใช้
-บริเวณผิวหนังที่ใช้ครีมพื้นผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคนาโนมีประสิทธิภาพลดริ้วรอยได้ดีกว่าบริเวณที่ใช้ครีมผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาครีมผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคนาโนให้มีประสิทธิภาพลดริ้วรอยและมีความคงตัวดี เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่พืชท้องถิ่นของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน จึงได้รับรางวัลจากสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ (IFSCC) ของส่งท้าย ปี 2554 อีกด้วย
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
1.สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษาสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ (http://edtech.ipst.ac.th/index.php/2011-07-29-04-02-00/2011-08-09-07-26-40/18-2011-08-09-06-29-06/332-2012-07-07-16-38-31.html)2.หมอชาวบ้าน (http://www.doctor.or.th/article/detail/1060)
3.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (http://www.pharmacy.cmu.ac.th/web2553/n47.php)
หากท่านใด สนใจผลิตภัณฑ์จากฟักข้าว
ติดต่อสอบถามรายละเอียดและสั่งซื้อได้ท่ี่ Email : pakwa2555@gmail.com
1 กล่องมี 30 แคปซูล ราคา 420 บาท/กล่อง
ราคาอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ โปรดสอบถามก่อนซื้อค่ะ
ข้อมูล ณ วันท่ี่ 16 มิ.ย.57